วัดพระศรีรัตนศาสดาสมเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายในเขตพระบรมมหาราชวังตามแบบแผนการสร้างพระบรมมหาราชวังแต่ตั้งโบราณ เป็นวัดที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาสไม่มีเขตสังฆาวาสให้พระสงฆ์จำพรรษา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง มีกำแพงรอบล้อมทั้งสี่ด้าน ด้วนในมือ พระระเบียงคด เป็นห้องยาวรายล้อมพระอาราม บนพนังพระระเบียง มีกิจกรรมผ่าผนัง เป็นเรื่องรามเกียรติ์ ตั้งแต่ต้นจนจบ มีประตูทางเข้าวัดทั้งหมด 7 ประตูดังนี้
ทิศตะวันตก มี 3 ประตู ได้แก่ ประตูพระฤาษี ประตูเกยเสด็จ (หลัง) และประตูสนามไชย เฉพาะประตูเกยเสด็จ (หลัง) มีเกยและพลับเพลาเปลื้องเครื่อง
ทิศตะวันออก มี 2 ประตู ได้แก่ ประตูเกยเสด็จหน้า(หน้า) และประตูหน้าวัว เฉพาะประตูเกยเสด็จ(หน้า) เป็นประตูงดงามมาก ยอดประตูมงกุฎ ประดับด้วยกระเบื้องแตก สีสันงดงาม
ทิศเหนือ มี 1 ประตู คือ ประตูวิหารยอด ซึ้งเป็นประตูเข้าออกวัดที่ตรงกับประตูกำแพงพระบรมมหาราชวัง ที่มีชื่อว่า ประตูมณีนพรันต์
ทิศใต้ มี 1 ประตู คือประตูวิหารยอดเป็นประตูเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นกลาง
ภายในพื้นที่ของพระอาราม ประกอบด้วย ศาสนสถานและศาสนวัตถุต่างๆ กล่าวถึงคือ พระอุโบสถ พระพุทธมหามณีรัตน์ปฎิมากร(พระแก้วมรกต) ศาลารายล้อมพระอุโบสถ หอพระราชพงศานุศร พอพระราชกรมานุสร หอระฆัง หอพระคุรธารราษฎร์ พระมณฑป หอพระมณเฑียนธรรม หอพระนาก วิหารยอด ปราสาทพระเทพบิดร พระศรีรัตนเจดีย์ รูปหล่อช้างโลหะ (ตั้งอยู่รายรอบพระพระมณฆป) รูปนครวัดจำลอง พระพุทธรูปหิน พระปรางค์แปดยอด
จิตกรรมฝาฝนังรอบพระระเบียง
พระระเบียง คือกำแพงวัดที่สร้างเป็นอาคารโอบล้อมพระอารามไว้ทั้งหมด จิตกรรรมผาผนังพระระเบียง คือภาพวาดบนผาผนังของพระระเีบียงโดยตลอด เป็นเรื่องราวรามเกียรติ์โดยสมบูรณ์ มีคำบรรยายท้องเรื่องใต้ภาพสั้นๆ อธิบายเป็นห้องๆมีทั้งหมด178ห้อง
เริ่มเรื่องรามเกียร์จากห้องที่1ประตู7ประตูวิการยอดด้านขวา ส่วนด้านซ้ายเป็นตอนจบของเรื่องรามเกียรติ์ห้องที่178พอดี นอกจากนี้ภาพตามฝาผนังเสาและกำแพงริมทางเดินจากประตู ยังเป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ 80 ปางก่อนที่จะอวตารลงมาเป็นพระราม
บริเวณวัดพระแก้ว
ในรัชการที่ 3 ลบเขียนใหม่ และซ่อมใหม่อีกครั้งในรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งฉลอง ครบ100ปี และซ่อมภาพเมื่อครั้งฉลองกรุง 150 ในรัชกาลที่ 7 พ.ศ.2475 ซ่อมแซมครั้งสุดท้ายในรัชกาลปัจุบัน เมื่อครั้งฉลองกรุงครบ 200 ปี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น