วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

            วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทน์ และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ

                   วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ

                       





               วัดพระศรีรัตนศาสดาสมเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายในเขตพระบรมมหาราชวังตามแบบแผนการสร้างพระบรมมหาราชวังแต่ตั้งโบราณ   เป็นวัดที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาสไม่มีเขตสังฆาวาสให้พระสงฆ์จำพรรษา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง มีกำแพงรอบล้อมทั้งสี่ด้าน  ด้วนในมือ   พระระเบียงคด  เป็นห้องยาวรายล้อมพระอาราม  บนพนังพระระเบียง  มีกิจกรรมผ่าผนัง  เป็นเรื่องรามเกียรติ์ ตั้งแต่ต้นจนจบ มีประตูทางเข้าวัดทั้งหมด 7 ประตูดังนี้
           ทิศตะวันตก มี 3 ประตู ได้แก่ ประตูพระฤาษี ประตูเกยเสด็จ (หลัง) และประตูสนามไชย  เฉพาะประตูเกยเสด็จ (หลัง)  มีเกยและพลับเพลาเปลื้องเครื่อง
            ทิศตะวันออก มี 2 ประตู  ได้แก่  ประตูเกยเสด็จหน้า(หน้า)  และประตูหน้าวัว  เฉพาะประตูเกยเสด็จ(หน้า) เป็นประตูงดงามมาก  ยอดประตูมงกุฎ  ประดับด้วยกระเบื้องแตก  สีสันงดงาม
            ทิศเหนือ  มี 1 ประตู คือ ประตูวิหารยอด  ซึ้งเป็นประตูเข้าออกวัดที่ตรงกับประตูกำแพงพระบรมมหาราชวัง  ที่มีชื่อว่า ประตูมณีนพรันต์
            ทิศใต้ มี 1 ประตู คือประตูวิหารยอดเป็นประตูเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นกลาง
             
           ภายในพื้นที่ของพระอาราม  ประกอบด้วย  ศาสนสถานและศาสนวัตถุต่างๆ กล่าวถึงคือ พระอุโบสถ  พระพุทธมหามณีรัตน์ปฎิมากร(พระแก้วมรกต) ศาลารายล้อมพระอุโบสถ หอพระราชพงศานุศร  พอพระราชกรมานุสร  หอระฆัง  หอพระคุรธารราษฎร์  พระมณฑป หอพระมณเฑียนธรรม หอพระนาก วิหารยอด ปราสาทพระเทพบิดร  พระศรีรัตนเจดีย์ รูปหล่อช้างโลหะ (ตั้งอยู่รายรอบพระพระมณฆป) รูปนครวัดจำลอง  พระพุทธรูปหิน พระปรางค์แปดยอด


   พระอุโบสถ
สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว







พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

     ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)
พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซม. สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซม. ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน
     เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัด ทองกร พระสังวาล เป็นทองลงยา ประดับมณีต่างๆ จอมมงกุฎประดับด้วยเพชร
     เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทองคำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรต ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก
     พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง ทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียว ทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้า ใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์พระ
     บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ ๑ เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยไม่มีเมฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป
     หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ องค์ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิ์หุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประดับมณี
   






จิตกรรมฝาฝนังรอบพระระเบียง
           พระระเบียง  คือกำแพงวัดที่สร้างเป็นอาคารโอบล้อมพระอารามไว้ทั้งหมด จิตกรรรมผาผนังพระระเบียง คือภาพวาดบนผาผนังของพระระเีบียงโดยตลอด เป็นเรื่องราวรามเกียรติ์โดยสมบูรณ์ มีคำบรรยายท้องเรื่องใต้ภาพสั้นๆ อธิบายเป็นห้องๆมีทั้งหมด178ห้อง



             เริ่มเรื่องรามเกียร์จากห้องที่1ประตู7ประตูวิการยอดด้านขวา ส่วนด้านซ้ายเป็นตอนจบของเรื่องรามเกียรติ์ห้องที่178พอดี นอกจากนี้ภาพตามฝาผนังเสาและกำแพงริมทางเดินจากประตู ยังเป็นเรื่องราวของพระนารายณ์ 80 ปางก่อนที่จะอวตารลงมาเป็นพระราม


      พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงพระราชนิพนต์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ที่นับได้ว่าเป็นรามเกียรติ์ที่มีเนื้อความจบบริบูรณ์ที่สุด  เริ่มตั้งแต่หิรัตยักษ์ ม้วนแผ่นดิน  พระนารายณ์ลงมาปราบ  เกิดอโนมาตัน  แรกสร้างกรุงอยุธยาสงครามระหว่างมนุษย์และยักษ์  จนกระทั่งพระรามและนางสีดาครองกรุงอยุธยา
      
              บริเวณวัดพระแก้ว




                                                 



    











       จิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้ พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  โปรดเกล้า ให้ช่างเขียนภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตามพระราชนิพนธ์ เป็นครั้งแรก เป็นครั้งแรก
       ในรัชการที่ 3 ลบเขียนใหม่ และซ่อมใหม่อีกครั้งในรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งฉลอง ครบ100ปี และซ่อมภาพเมื่อครั้งฉลองกรุง 150 ในรัชกาลที่ 7 พ.ศ.2475 ซ่อมแซมครั้งสุดท้ายในรัชกาลปัจุบัน เมื่อครั้งฉลองกรุงครบ 200 ปี






คลิปบรรยากาศบริเวณวัดพระแก้ว








                                               บอกเล่าประวัติวัดพระแก้ว






        วัดพระแก้วนั้นเป็นวัดที่สำคัญของประเทศไทย มีวัฒนธรรมมากมายให้ศึกษา ทั้งศิลปะไทยสมัยโบราณเรื่องเล่าวรรณคดีต่างๆควรค่าแก่การเชี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง เราในฐานะคนไทยไทยก็ควรจะได้เข้าชมสักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อได้เห็นกับตา่ว่างดงามมากเพียงใด  วัดพระแก้วเปิดให้เข้าเยี่ยมชมทุกวันวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน เวลา : 08.30 – 15.30 น.
ค่าเข้าชม : คนไทยไม่เสียค่าเข้าชม ชาวต่างชาติ 500 บาท (รวมค่าเข้าชมพระที่นั่งวิมานเมฆ)

วิธีเดินทาง : ลงสถานีสะพานตากสิน S6 (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ 2 จากนั้นต่อเรือด่วนเจ้าพระยาไปขึ้นที่ท่าช้าง แล้วเดินต่อไปยังวัดพระแก้ว












Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น